วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ซอฟแวร์ที่ใช้ในงานออกแบบ (3 มิติ)

ซอฟแวร์ที่ใช้ในงานออกแบบ (3 มิติ)

ArchCad ซอฟต์แวร์ ออกแบบ อาคาร 3 มิติ ที่นิยมใช้ทั่วยุโรป และอเมริกา ที่มีเทคโนโลยี ที่ช่วยให้สถาปนิกทำงานได้ สะดวกรวดเร็ว และมีความถูกต้อง มากยิ่งขึ้น โดยสามารถสร้าง อาคาร 3 มิติ ได้โดยง่าย และครบถ้วน ทุกองค์ประกอบ และสามารถสร้าง drawing ให้โดยอัตโนมัติ ทั้ง แปลน รูปด้าน รูปตัด และทุกมุมที่ต้องการ โดยหากมีการแก้ไข โปรแกรมจะทำการ อัพเดทข้อมูลให้โดยอัตโนมัติ และครบถ้วน และยังสามารถสร้างภาพ เสมือนจริง (rendering) เพื่อนำเสนอผลงานในแบบมืออาชีพ ที่สำคัญ งานออกแบบทั้งหมด จะมีข้อมูลของอาคาร ที่สามารถเรียกดู หรือสร้างรายงาน หรือ BOQ ได้ (www.etcservice.com)



Google Sketchup ซอฟต์แวร์  เพื่อการออกแบบ อาคาร และ ภูมิทัศน์ เป็น 3 มิติ ที่ช่วยให้ สร้างแบบจำลอง อาคาร และ โครงการก่อสร้างต่าง ๆ ได้รวดเร็ว และสามารถ นำเสนอ  ได้ทุกมุมมอง  พร้อมสามารถกำหนดสีและ วัสดุ ให้แก่อาคาร ทั้งภายนอก และภายใน รวมถึงการจัดวาง เฟอร์นิเจอร์ , คนในอิริยาบถต่าง ๆ รวมถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ได้ และยังสามารถแสดงแสงเงาในเวลาต่าง ๆ ได้  (www.etcservice.com)

 




Planit Fusion โปรแกรมออกแบบตกแต่งภายใน (Interior Design Software) ที่บริษัทเฟอร์นิเจอร์ ในประเทศไทยและทั่วโลกนิยมใช้กันมากสุด ซึ่งพัฒนาซอฟท์แวร์จากผู้นำด้านซอฟท์แวร์การออกแบบตกแต่งภายในของโลก 2020 Technology  ที่สามารถรวบรวมการทำงานทั้งหมดของโชว์รูมเฟอร์นิเจอร์ได้ในโปรแกรมเดียวอย่างสมบูรณ์แบบ (One Stop Service) ตั้งแต่ การบันทึกข้อมูลลูกค้า บริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) งบประมาณ การติดตั้ง การออกแบบ และเขียนแบบตกแต่งภายใน (www.twoplussoft.com)



 
โปรแกรม Oracle Primavera โซลูชั่นการบริหารโครงการสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ที่นิยมใช้กันมากทั่วโลก (บริษัทเดิมคือ Primavera Systems,Inc., USA. ซึ่งพัฒนาอย่างต่อเนื่องมากว่า 28 ปี) ปัจจุบันอยู่ภายใต้ชื่อ Oracleซึ่งเป็นบริษัทคอมพิวเตอร์ ยักษ์ใหญ่ของโลกและได้พัฒนา Primaveraให้มีคำสั่งสำหรับซอฟท์แวร์ระดับองค์กรด้วยเทคโนโลยีของ Oracle (www.twoplussoft.com)
                                                                         
  Robot millennium โปรแกรมออกแบบและวิเคราะห์โครงสร้างทางวิศวกรรม
    
 
GIS โปรแกรมช่วยจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่เหมาะสำหรับการวางแผนกายภาพ สิ่งแวดล้อม ผังเมือง ภูมิสถาปัตยกรรม และการสำรวจ

 
AutoCAD Civil 3โปรแกรมที่ใช้ในการออกแบบ การวิเคราะห์ และสำรวจ สามารถปรับเปลี่ยนการจัดเก็บโครงการหลากหลายประเภท ทั้งการพัฒนาที่ดิน อสังหาริมทรัพย์(Real Estate) การคมนาคมขนส่ง หรือสิ่งแวดล้อม




ซอฟแวร์ที่ใช้ในงานออกแบบ (2 มิติ)

ซอฟแวร์ที่ใช้ในงานออกแบบ (2 มิติ)

AutoCAD LT 2016

     โปรแกรม AutoCAD® LT 2016 เป็นโปรแกรมเขียนแบบและออกแบบ (CAD) 2 มิติ ของ AutoCAD® ในราคาประหยัดสำหรับผู้ที่ต้องการทำงานด้านเขียนแบบ 2 มิติ เพียงอย่างเดียว ซึ่งพัฒนาจากผู้พัฒนาโปรแกรมรายใหญ่ที่สุดในโลก มีความเข้ากันได้ของไฟล์ DWG มีความน่าเชื่อถือและการมีประสิทธิภาพของเครื่องมือวาดภาพ 2 มิติ ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิผลของคุณ 

AutoCAD® LT 2016 มีการใช้งานที่สมบูรณ์แบบของ 2 มิติ ในการออกแบบอย่างแม่นยำ และมีเทคนิคในการเขียนแบบอย่างถูกต้อง มีการออกแบบตามวัตถุประสงค์ตามความต้องการ มีการปรับปรุงคุณสมบัติ และเพิ่มวิธีใหม่ๆ ในการออกแบบ สามารถทำงานร่วมกับโปรแกรมอื่นๆ ได้อย่างสมบูรณ์ 

โปรแกรม AutoCAD® LT 2016 จึงเหมาะสำหรับผู้ใช้งาน CAD งานเขียนแบบ และออกแบบทั่วไป 2 มิติ เช่น เขียนแบบอาคาร เขียนแบบโครงสร้าง เขียนแบบโยธา เป็นต้น ด้วยไฟล์ DWG แต่ต้องการเสียค่าใช้จ่ายลิขสิทธิ์ให้น้อยที่สุด และต้องการให้เงินลงทุนนั้นคุ้มค่ามากที่สุด และโปรแกรม AutoCAD® LT 2016 เป็นคำตอบของท่าน !!                                                          
                                                          
ท่านสามารถใช้โปรแกรม AutoCAD LT 2016 ได้แล้วทั้ง Mac หรือ PC

หากท่านต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ AutoCAD® LT 2016 นี้ กรุณาติดต่อกับ ทูพลัส ซอฟท์ ตัวแทนจำหน่ายแต่งตั้งของ Autodesk โดยตรงที่ 0 2513 7494 

เทคโนโลยีสะอาด




เทคโนโลยีสะอาด
                    เทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology : CT) หมายถึง การพัฒนา ปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตหรือผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การใช้วัตถุดิบ พลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดผลกระทบ ความเสี่ยงต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยการลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด และมีของเสียเกิดขึ้นน้อยที่สุดหรือไม่มีเลย ด้วยการเปลี่ยนวัตถุดิบ การใช้ซ้ำและการนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและลดต้นทุนการผลิตควบคู่กันไป

หลักการของเทคโนโลยีสะอาด
                     เทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดเป็นหลักการป้องกันมลพิษ (Pollution Prevention) ที่ใช้หลักการลดของเสียเหลือน้อยที่สุด (Waste Minimization) โดยวิธีการแยกสารมลพิษที่เกิดจากกระบวนการผลิตทุกขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตหรือการเปลี่ยนวัตถุดิบที่ทำให้เกิดผลพลอยได้ที่ไม่เป็นอันตราย รวมทั้งการลดปริมาณและความเข้มข้นขององค์ประกอบในของเสียด้วยการนำไปใช้ซ้ำ (Reuse) หรือการนำกลับไป       ใช้ใหม่ (Recycle) จนไม่สามารถนำของเสียไปใช้ประโยชน์ได้แล้ว ก็จะนำไปบำบัดให้ถูกต้องตามหลักวิชาการต่อไป       โดยมีการดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง นอกจากนี้ในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้นั้นยังต้อง             ประกอบด้วยทัศนคติที่ดีและการร่วมมือกันอย่างเต็มที่จากบุคคลากรทุกฝ่ายอีกด้วย
                                                            หลักการเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดในการป้องกันมลพิษ
วิธีการเทคโนโลยีสะอาด

                 เทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด มีวิธีดำเนินงานแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ วิธีลดมลพิษที่แหล่งกำเนิดและวิธีการนำกลับมาใช้ใหม่หรือการใช้ซ้ำ
                                                                     วิธีการดำเนินงานเทคโนโลยีที่สะอาด
การลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด แบ่งออกเป็น 2 วิธี ดังนี้


1. การปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต (Process Change) แบ่งออกเป็น 3 วิธี คือ
        1.1     การปรับเปลี่ยนวัตถุดิบ (Input Material Change)
              เป็นการเลือกใช้วัตถุดิบที่สะอาด หมายถึง คุณสมบัติของวัตถุดิบเองหรือสิ่งปนเปื้อนมากับวัตถุดิบ สิ่งสกปรกที่ปนเปื้อนมากับวัตถุดิบ หากเป็นไปได้ควรมีการกำจัดออกตั้งแต่ต้น คือแหล่งที่มาก่อนที่จะขนเข้าสู่โรงงาน เพื่อเข้าสู่กระบวนการผลิต รวมทั้งคุณภาพต้องให้ได้ตามมาตรฐานการผลิตของโรงงานด้วย
    1.2      การปรับปรุงเทคโนโลยี (Technology Improvement)
        เป็นการเพิ่มศักยภาพการผลิตหรือการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การปรับปรุงผังโรงงาน การเพิ่มระบบอัตโนมัติ การปรับปรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิตและการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ เพื่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุดและถ้าหากของเสียไม่สามารถลดหรือกำจัดได้แล้ว ก็ให้หาวิธีนำเทคโนโลยีเพื่อทำการเคลื่อนย้ายตัวกลางทางสิ่งแวดล้อมเดิมไปสู่ตัวกลางใหม่ ซึ่งเงือนไขในการนำเทคโนโลยีมาปรับปรุงมีองค์ประกอบ 5 ประการ (5 M) ดังรูป
   1.3       การบริหารการดำเนินงาน (Operational Management)
      เป็นการบริหารระบบการวางแผนและควบคุมการผลิต เพื่อเพิ่มศักยภาพของกระบวนการผลิต ให้สามารถลดต้นทุนการผลิตและผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิผล ได้แก่ การปฏิบัติที่ดี การจัดการที่ดี การควบคุมรายการวัตถุดิบ การจัดเก็บที่เหมาะสม การวางแผนการผลิต การแยกกำจัดหรือบำบัดของเสียและการฝึกอบรม



                                                                           เงื่อนไขในการปรับปรุงเทคโนโลยี

2. การปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ (Product Reformulation)

           ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นอาจมีคุณภาพ รูปลักษณะ ขนาด ภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบสิ่งแวดล้อม สามารถทำการปรับปรุงเพื่อลดปัญหาได้ 4 วิธี
2.1 Product Change Factor เป็นการออกแบบใหม่เพื่อปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ โดยมีเงื่อนไขเทคนิคต่างๆที่เหมาะสม
2.2 Production Change Factor เป็นการปรับปรุงกระบวนการผลิต วิธีการควบคุมสินค้า การเก็บรักษา
2.3 Market Change Factor ปรับเปลี่ยนวิธีการตลาด ประมาณความต้องการตลาด
2.4 Marketing Change Factor ปรับปรุงการบริการ การตลาด

การนำกลับมาใช้ใหม่หรือการใช้ซ้ำ

                  โดยปกติควรดำเนินการลดการสูญเสีย ก่อนที่จะหาวิธีนำกลับมาใช้หมุนเวียนหรือนำไปสกัดของมีค่ากลับคืน การหมุนเวียนการใช้ เช่น เมื่อนำทรัพยากรมาผ่านการใช้งานครั้งหนึ่งแล้วยังมีคุณภาพที่จะนำไปใช้งานในขั้นตอนอื่นได้ ก็ควรหาวิธีที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือถ้าใช้ในกระบวนการอื่นไม่ได้อีกแล้วก็จะใช้วิธีการศึกษาเทคโนโลยีเพื่อออกแบบกระบวนการนำทรัพยากรน้ำ วัตถุดิบ หรือพลังงานกลับมาใช้อีก หรือทำให้เกิดผลพลอยได้เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับของเสีย

โรงงานอุตสาหกรรมโดยทั่วไป สามารถนำเทคโนโลยีการผลิตทีสะอาดไปใช้เป็นการพัฒนาขีดความสามารถด้านการผลิต เพื่อให้เกิดการแข่งขันในภาคอุตสาหกรรมทั้งภายในประเทศและการค้าของตลาดโลกได้อย่าง        แน่นอน เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่ก่อให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและให้ประโยชน์อย่างมากมาย ซึ่งบาง      กรณีการนำเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดไปปฏิบัติใช้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการลงทุน แต่ผลที่ได้กลับมา    สามารถลดต้นทุนการผลิตได้มาก หรือถ้ามีการลงทุนก็ต้องได้รับผลตอบแทนภายในระยะเวลาคืนทุน      (Payback Period) ที่คุ้มค่าต่อการลงทุน

ประโยชน์ของเทคโนโยลีสะอาด
ประโยชน์ต่อตัวเราเอง
1. มีสุขภาพกายที่แข็งแรง ปลอดภัยจากสารพิษต่างๆ เพราะมีสารพิษที่ปล่อยสู่ธรรมชาติและตกค้างอยู่ในผลิตภัณฑ์น้อยลง สุขภาพจิตก็ดีด้วย
2. เทคโนโลยีสะอาดทำให้เราได้ใช้สินค้าอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพสูงขึ้น
3. มีสภาพแวดล้อม ความเป็นอยู่ และคุณภาพชีวิตดีขี้น เช่น แม่น้ำลำคลองจะสะอาดขึ้นและมีขยะลดน้อยลง
4. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
5.มีความภาคภูมิใจในผลงานที่มีส่วนทำให้เกิดสิ่งดีๆ ขึ้นในสังคม
ประโยชน์ต่อชุมชน
1. มีความสมานสามัคคีกันระหว่างข้านน ชุมชนและโรงงานดีขึ้นเพราะเข้าใจปัญหา และร่วมกันหาหนทางแก้ไข
2. ทำให้เกิดสังคมที่หน่าอยู่ มีทรัพยากรธรรมชาติเหลือให้ใช้อย่างเพียงพอ เพราะมีการจัดสรรและใช้ทรัพยากรอย่างค้มค่า และมีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น มีการนำเอาของเสียกลับมาใช้ใหม่ เป็นต้น
ประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรม
1. ช่วยทำให้เกิดการประหยัดการใช้น้ำ วัตถุดิบ พลังงาน และลดการเกิดมลพิษ โดยกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่และใช้ซ้ำ
2. การปรับปรุงสภาพการทำงาน เทคโนโลยีสะอาดจะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากคนงานมีสุขอนามัยดีขึ้น และลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ
3. การปรับปรุงคุณภาพสินค้า คุณภาพของสินค้าเป็นสิ่งสำคัญของผู้ผลิตภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากต้องแข่งข้นในระดับสากล การลดมลพิษ ณ แหล่งกำเนิดทำให้คุณภาพสินค้าดีขึ้น
4. การเพิ่มประสิทธิภาพและกำไรการประหยัดวัตถุดิบและพลังงานนำไปสู่การลดต้นทุนการผลิต ซึ่งเป็นการเพิ่มกำไร และขีดความสามารถในการแข่งขัน
5. เทคโนโลยีสะอาด ทำให้โรงงานเกิดของเสียน้อยลง ง่ายต่อการจัดการและยังปฏิบัติได้ตามมาตรฐานกฎหมายบ้านเมือง
6. การลดต้นทุนการบำบัดเสีย การลดมลพิษที่แหล่งกำเนิดทำให้มลพิษมีปริมาณลดลง ซึ่งจะมีผลทำให้ต้นทุนการบำบัดของเสียลดลงด้วย
7. การมีภาพพจน์ที่ดีต่อสาธารณชน เทคโนโลยีสะอาดทำให้โรงงานหรือสถานประกอบการสะอาด และทำให้เป็นเพื่อนบ้านที่ดีกับชุมชนรอบข้าง
8. เทคโนโลยีสะอาดจะลดจำนวนมลพิษจากอุตสาหกรรมลง และเป็นการลดการสะสมตัวของความเป็นพิษต่างๆ ในสิ่งแวดล้อม
ประโยชน์ต่อภาครัฐ
1. เทคโนโลยีสะอาดช่วยแบ่งเบาภาระกิจในการติดตามตรวจสอบของภาครัฐ
2. บรรลุตามเป้าหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
3. ส่งเสริมภาพพจน์ของประเทศไทยในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและเพิ่มศักยภาพในการส่งออก  
             ขั้นตอนสู่ความสำเร็จในการทำเทคโนโลยีสะอาด    
1. วางแผนและจัดองค์กร (นโยบาย/วัตถุประสงค์/เป้าหมาย/ตั้งคณะทำงาน)
การวางแผนและจัดองค์กรนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงความมุ่งมั่นของผู้บริหาร โดยการกำหนดนโยบายและเป้าหมายซึ่งจะเป็นแนวทางในการทำเทคโนโลยีสะอาด (CT) ขององค์กรนั้นๆ นอกจากนั้นผู้บริหารสูงสุดยังต้องให้การสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ โดจการจัดตั้งคณะทำงานเทคโนโลยีสะอาด (ทีม CT) และในขั้นตอนนี้ อาจมีการพิจารณาถึงอุปสรรคซึ่งอาจมีผลต่อการดำเนินงาน และควรเตรียมการเพื่อการแก้ไขไว้ด้วย
2. ทำการประเมินเบื้องต้น (เลือกบริเวณที่จะทำการประเมิน)
หลังจากที่ได้โครงสร้างและกรอบในการทำงานแล้ว คณะทำงานต้องทำการประเมินเบื้องต้นว่ามีบริเวณใดบ้าง   ที่เกิดความสูญเสียและสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ และเลือกบริเวณที่จะทำการประเมินโดยละเอียดต่อไป การประเมินเบื้องต้นอาศัยหลักสามัญสำนึกเป็นส่วนใหญ่ และยังไม่ลงลึกในรายละเอียด ผลจากการประเมินนี้ จะใช้เป็นแนวทางกำหนดบริเวณหรือทรัพยากรที่จะศึกษาในการประเมินโดยละเอียดต่อไป
3. ทำการประเมินโดยละเอียด (รายกาทางเลือกทั้งหมด)
เมื่อได้พื้นที่หรือบริเวณที่เกิดความสูญเสียสูง และต้องการจะปรับปรุงให้ดีขึ้นแล้ว จึงเริ่มทำการประเมินโดยละเอียดเพื่อจัดทำสมดุลมวลและพลังงาน เข้า ออก เพื่อทำให้ทราบถึงสาเหตุและแหล่งกำเนิดของของเสียหรือมลพิษ การสูญเสียพลังงาน ความเสี่ยง และสภาพแวดล้อม การทำงานที่ไม่ดี จากนั้นจึงทำรายการและจัดลำดับความสำคัญของทางเลือกเพื่อการปรับปรุงต่อไป
4. ศึกษาความเป็นไปได้ (รายการของทางเลือกที่คุ้มค่าในการลงทุน)
ศึกษาความเป็นไปได้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงระดับความละเอียดที่ต้องทำการศึกษาในแต่ละทางเลือก และความพร้อมของข้อมูล นอกจากนั้นสำหรับโครงการที่ต้องมีการลงทุนสูง ต้องประเมินความคุ้มค่าในการลงทุน และทำรายการของทางเลือกที่เป็นไปได้
5. ลงมือปฏิบัติ (แผนปฏิบัติงาน/ดำเนินงานตามแผน)
การลงมือปฏิบัติเพื่อให้ทางเลือกที่ได้เลือกไว้ประสบความสำเร็จ ต้องมีกาวางแผนการทำงานโดยละเอียด โดยในแผนงานควรประกอบด้วย เรื่องที่จะทำ บริเวณเป้าหมาย ขั้นตอน การปฏิบัติ กำหนดระยะเวลาเสร็จสิ้น และผู้รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอนอย่างชัดเจน
6. ติดตามประเมินผล (ติดตาม ตรวจสอบ อย่างใกล้ชิด)
เมื่อการทำงานดำเนินไประยะหนึ่งควรมีการติดตามประเมินผลเพื่อให้แน่ใจว่า การปฏิบัติเป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ หรือถ้าหากมีปัญหาประการใด จะได้ทบทวนแก้ไขเพื่อมิให้เป็นอุปสรรคในการทำงานต่อไป การติดตามประเมินผลยังเป็นการทำให้ CT ของบริษัทดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่องและดียิ่งขึ้นอีกด้วย           

ปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จในการทำเทคโนโลยีสะอาด              
1. ความมุ่งมั่นของผู้บริหาร
2. ความมั่นคงในนโยบาย
3. การได้รับการฝึกอบรมในทุกระดับ
4. มีศรัทธาและเป็นคุณค่าขอเทคโนโลยีสะอาดอย่างแท้จริง
5. สร้างแรงจูงใจที่เหมาะสม
6. การมีส่วนร่วมของพนักงานทุกระดับอย่างสม่ำเสมอ
7. มีแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่ทันสมัย
8. มีทีมงานที่มีประสิทธิภาพ
9. ทำเทคโนโลยีสะอาดอย่างต่อเนื่อง
                                               

ปัญหา อุปสรรค ของการนำเทคโนโลยีสะอาดไปใช้
1. ไม่เข้าใจแนวความคิดเทคโนโลยีสะอาด
2. ไม่มีข้อมูล
3. การไม่มีส่วนร่วมของบุคคลากรในองค์กร
4.ขาดเทคโนโลยี ทั้งความรู้ของบุคคลากร และการพัฒนาวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
5. ตัวอย่างความสำเร็จ CT ในเชิงรูปธรรมยังมีจำนวนน้อย
 6. การไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลความสำเร็จของ CT ในวงกว้าง
7. บุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้าน CT ยังมีน้อย

5W1H

                                           การใช้เทคนิค 5W1H ในการวิเคราะห์ปัญหา
                             นี่คือเหตุผลหนึ่งที่วิธีแก้ปัญหา 5W1H ถูกเรียกว่า “Kipling Method” ซึ่งวิธีนี้จะช่วยในการสำรวจปัญหาโดยการท้าทายด้วยคำถาม
                                                      5W1H มีส่วนประกอบดังนี้
Who ใคร คือ สิ่งที่เราต้องรู้ว่า ใครรับผิดชอบ ใครเกี่ยวข้อง ใครได้รับผลกระทบ ในเรื่องนั้นมีใครบ้าง
What ทำอะไร คือ สิ่งที่เราต้องรู้ว่า เราจะทำอะไร แต่ละคนทำอะไรบ้าง
Where ที่ไหน คือ สิ่งที่เราต้องรู้ว่า สถานที่ที่เราจะทำว่าจะทำที่ไหน เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นอยู่ที่ไหน
When เมื่อไหร่ คือ สิ่งที่เราต้องรู้ว่า ระยะเวลาที่จะทำจนถึงสิ้นสุด เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นทำเมื่อวัน เดือน ปี ใด
Why ทำไม คือ สิ่งที่เราต้องรู้ว่า สิ่งที่เราจะทำนั้น ทำด้วยเหตุผลใด เหตุใดจึงได้ทำสิ่งนั้น หรือเกิดเหตุการณ์นั้นๆ
How อย่างไร คือ สิ่งที่เราต้องรู้ว่า เราจะสามารถทำทุกอย่างให้บรรลุผลได้อย่างไร เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นทำอย่างไรบ้าง
การใช้เทคนิค 5W1H ในการวิเคราะห์แก้ปัญหานั้น ส่วนใหญ่เราจะใช้ในขั้นตอนของการวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการตั้งคำถาม Who is it about? What happened?  When did it take place? Where did it take place? และ Why did it happen? การตั้งคำถามดังกล่าวจะทำให้เราได้คำตอบในแต่ละประเด็น แต่ละข้อของคำถาม

                              เทคนิค 5W1H จะใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลหรือปัญหา ได้เกือบทุกรูปแบบ เทคนิค  5W1H เป็นการคิดวิเคราะห์ (Analysis Thinking) ที่ใช้ความสามารถในการจำแนก แยกแยะองค์ประกอบต่าง ๆ ของสิ่งหนึ่งสิ่งใดซึ่งอาจจะเป็นวัตถุ สิ่งของ เรื่องราว หรือเหตุการณ์ นำมาหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ เหล่านั้น เพื่อค้นหาคำตอบที่เป็นความเป็นจริง หรือที่เป็นสิ่งที่สำคัญ จากนั้นจึงรวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาจัดระบบ เรียบเรียงใหม่ให้ง่ายแก่ต่อการทำความเข้าใจ
ประโยชน์ของการคิดวิเคราะห์  5W1H
ทำให้เรารู้ข้อเท็จจริง รู้เหตุผลเบื้องหลังของสิ่งที่เกิดขึ้น เข้าใจความเป็นมาเป็นไปของเหตุการณ์นั้น
ใช้เป็นฐานความรู้ในการนำไปใช้ในการตัดสินใจแก้ปัญหา
ทำให้เราหาเหตุผลที่สมเหตุสมผลให้กับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง
ทำให้เราสามารถประมาณความน่าจะเป็นได้
ตัวอย่างการใช้ 5W1H ในการวิเคราะห์ข้อมูล
เริ่มต้นก็คือ เราต้องตั้งคำถามและพยายามหาคำตอบในแต่ละหัวข้อคำถาม โดยการตั้งคำถามอาจไม่จำเป็นต้องเรียงข้อของคำถาม แต่พิจารณาจากความเหมาะสม การยกตัวอย่างอาจจะยังไม่สมบูรณ์เท่าไร 
                             
                              แต่จุดประสงค์คือต้องการให้เห็นหรือเข้าใจแนวความคิดในการตั้งคำถามเท่านั้น เราจะยกตัวอย่างการเริ่มต้นทำธุรกิจ
คำถามแรก W  - Who ตัวแรก ใครคือลูกค้าของเราใครคือกลุ่มเป้าหมายที่เป็นลูกค้าของเรา? เราควรระบุกลุ่มเป้าหมายที่เป็นลูกค้าของเราได้ เช่น อายุ, เพศ, การศึกษา, ศาสนา, อาชีพ, เงินเดือน, ที่อยู่อาศัย, ขนาดครัวเรือน พฤติกรรมการบริโภค ข้อมูลเหล่านี้ จะช่วยทำให้เราสามารถ ระบุกลุ่มเป้าหมายลูกค้าของเราได้ชัดเจน เพื่อที่เราจะสามารถวางแผนการผลิต แผนการตลาด หรือแผนการสร้างสินค้าและบริการที่สามารถตอบสนองกลุ่มเป้าหมายที่เป็นลูกค้าของเราได้อย่างถูกต้อง
คำถามที่สอง W – What – เราต้องรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ลูกค้าของเราต้องการ? เราควรระบุรูปแบบของสินค้าหรือบริการของเราได้ว่า รูปแบบไหนที่ลูกค้าของเราต้องการ และเราสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าของเราได้ และอะไรที่จะทำให้เราสามารถสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าหรือบริการของเราจากคู่แข่งของเราได้
คำถามที่สาม W – Where – ลูกค้าของเราอยู่ที่ไหน? เราควรระบุได้ว่าลูกค้าของเราอยู่ที่ไหนบ้าง และที่ไหนคือที่ที่เราจะสามารถนำเสนอสินค้าของเราให้กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย
คำถามที่สี่ W – When – เมื่อไรที่ลูกค้าของเรามีความต้องการสินค้า? เราควรระบุได้ว่าลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของเราต้องการสินค้าหรือบริการของเราเมื่อไร ในช่วงเวลาไหน และต้องการบ่อยแค่ไหน ซึ่งจะช่วยทำให้เราสามารถกำหนดและวางแผนต่างๆ ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าของเราได้อย่างถูกต้อง
คำถามที่ห้า W – Why – ทำไมลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของเราต้องซื้อหรือใช้บริการของเรา? เราควรระบุได้ว่าทำไมลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของเราจะเลือกซื้อสินค้าหรือบริการของเรา แทนที่จะซื้อจากคู่แข่งของเรา หรือทำไมเราต้องเข้ามาทำธุรกิจนี้

คำถามสุดท้าย H – How – เราจะเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของเราได้อย่างไร? เราควรระบุได้ว่า เราจะสามารถเข้าถึงลูกค้าของเราได้ด้วยวิธีไหน อย่างไร ซึ่งเราควรมีการวางแผนและกำหนดวิธีการที่เราสามารถเข้าถึงลูกค้าของเราได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพมากที่สุด

ตัวอย่างการออกแบบ

ตัวอย่างการออกแบบ
เมื่อธุรกิจเริ่มมีคู่แข่งมากขึ้น ความยากในการขายสินค้าของแต่ละแบรนด์ก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ธุรกิจเจ้าใหญ่หลายแบรนด์จึงต้องคิดค้นวิธีที่จะชนะคู่แข่งโดยหันไปใส่ใจให้น้ำหนักกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) ให้มากขึ้น วันนี้ TCDC จึงนำเสนอ 7 ตัวอย่างการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่เชื่อมโยงความคิดสร้างสรรค์กับการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ เพราะความต้องการของผู้ใช้นี่เองจะเป็นหนึ่งตัวแปรสำคัญ ที่ทำให้ผู้ใช้เลือกสินค้าแบรนด์เราเป็นแบรนด์โปรด และทำให้แบรนด์เรามีความโดดเด่นกับแบรนด์อื่นได้อย่างง่ายดาย


1. Macbook Air ออกแบบโดย Apple 
หลายๆ คนอาจจะเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้แล้ว Macbook Air ขนาด 13 นิ้ว ที่มีส่วนที่บางที่สุดเพียง 3 มิลลิเมตร และมีน้ำหนักเพียงแค่ 1.3 กิโลกรัมเท่านั้น แต่คุณรู้ไหม Apple สร้างคอมพิวเตอร์เครื่องนี้อย่างไร? ด้วยนวัตกรรมใหม่ของ Apple ที่สร้างแหล่งเก็บข้อมูลหรือ flash storage ที่มีความหนาน้อยกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไปถึง 90 เปอร์เซ็นต์ จึงจำเป็นต้องสร้าง Product Design ที่แตกต่างหากจาก Macbook Pro ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด การที่ Apple ได้คิดค้นผลิตภัณฑ์ตัวนี้ขึ้นมา เพราะต้องการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ที่ต้องการคอมพิวเตอร์ที่มีน้ำหนักเบาและพกพาไปไหนมาไหนได้ง่ายขึ้น

2. Newport Capo for G7th ออกแบบโดย Bluefrog Design 
หลายๆ คนที่เคยเล่นกีต้าร์มาก่อนคงพอที่จะรู้ว่าผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้คืออะไร แต่สำหรับคนที่ไม่คุ้นเคยกับการเล่นกีต้าร์ Capo คือเครื่องมือที่ช่วยแปลงเสียงของกีต้าร์ให้มีลำดับเสียงที่สูงขึ้น แต่ส่วนมากผู้เล่นกีต้าร์จะไม่นิยมใช้ Capo กันเพราะมันดูน่าเกลียด ทำให้เล่นได้ยากขึ้น และยังทำให้เสียงสูงจนเพี๊ยนด้วยในบางเวลา Bluefrog Design จึงคิดค้น Capo ที่เบาขึ้น รูปร่างสวยงามมากขึ้น และมีขนาดเล็กเล็กลงเพื่อที่จะตอบสนองปัญหาของมือกีต้าร์ทั้งหลาย

3. New Bowl for Alessi ออกแบบโดย Terence Conran 
นักออกแบบ Terence Conran ผู้ที่ฉลองงานครบรอบวันเกิดของตัวเองด้วยการออกแบบถ้วยเหล็กถ้วยนี้ ซึ่งผลิตขึ้นจากเหล็กกล้า มีความกว้าง 20 เซนติเมตรและความสูง 9.5 เซนติเมตร เพื่อจะทำหน้าที่เก็บความเย็นของอาหารและผลไม้ไว้ในถ้วยได้ยาวนานขึ้น ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารชื้นและเสียรสชาติไป

4. Jambox[k1] for Jawbone ออกแบบโดย Yves Behar and Jawbone 
ลำโพงไร้สายตัวนี้เกิดขึ้นจากความต้องการลำโพงที่สามารถส่งเสียงดังสนั่นและสามารถพกพาไปไหนต่อไหนได้สะดวก รวมถึงเชื่อมต่อกับทุกอุปกรณ์ที่บรรจุเพลงโปรดของเราไว้ ไม่ว่าจะเป็น iPhone iPodTouch หรือ iPad ได้ Jambox เป็นลำโพงที่ทำจากเหล็กกล้า เชื่อมด้วยท่อยางที่คลุมสี่รอบด้าน เพื่อลดส่วนประกอบอื่นๆ ที่ไม่จำเป็น ดีไซน์ด้วยความเรียบง่ายนี้ก็ทำให้ดูเก๋ไก๋ไปอีกแบบ

5. Quickfix Bicycle Mudguard ออกแบบโดย Full Windsor 
คนที่ชอบขี่จักรยานโลดโผนบนภูเขาคงเคยมีปัญหาดินโคลนกระเด็นใส่ผู้ขับจากล้อหลัง บริษัท Full Windsor จึงนำปัญหานี้มาสร้างเป็นโอกาสทางธุรกิจ โดยสร้างที่กันโคลนที่มีประสิทธิภาพดี แถมได้รับการออกแบบมาเพื่อที่จะสามารถล็อคติดกับจักรยานทุกชนิดได้ง่ายๆ และยังผลิตจากวัสดุรีไซเคิลอีกด้วย

6. Bicygnals Angel ออกแบบโดย Gavin Thompson Design 
ในต่างประเทศมีสถิติอุบัติเหตุจักรยานมากที่สุดหลังช่วงเวลาสี่โมงเย็นเป็นต้นไป ซึ่งเป็นเวลาที่มืดค่ำแล้ว นักออกแบบ Gavin Thompson จึงคิดค้นหมวกกันน็อคที่เรืองแสงในที่มืด แบบวงกลม 360 องศา และชาร์ตแบตเตอรี่ผ่าน USB ได้ หมวกกันน็อคตัวนี้จะกระพริบแสงเป็นจังหวะ เพื่อบอกตำแหน่งของคนที่ขี่จักรยานให้คนที่ขับรถยนต์รู้ ผลิตภัณฑ์นี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองความปลอดภัยของคนที่ขับจักรยานกลับบ้านตอนกลางคืนในต่างประเทศ


7. iPad 2 ออกแบบโดย Apple 
อีกผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ ที่ต้องการเครื่องมืออิเล็คโทรนิคที่เบาและสามารถพกพาไปไหนมาไหนได้ด้วยเช่นกัน Apple ออกแบบ iPad 2 ให้มีความบางกว่า iPad รุ่นก่อนหน้าถึง 33 เปอร์เซ็นต์และมีน้ำหนักเบากว่าถึง 15 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งยังติดกล้องไว้สองด้าน และกล้องถ่ายรูปด้านหลังรองรับการถ่ายแบบความละเอียดสูงอีกด้วย